เอเอฟพี – ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ “ชาร์ป” แถลงผลประกอบการขาดทุนปีที่แล้วสูงถึง 1,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับว่าย่ำแย่เหนือความคาดหมาย พร้อมประกาศลดพนักงานหลายพันตำแหน่งเพื่อปรับโครงสร้างครั้งใหญ่
ยอดขาดทุนสุทธิ 222,000 ล้านเยนนั้นมากกว่าที่ ชาร์ป ได้คาดการณ์ไว้เพียง 30,000 ล้านเยนอยู่หลายเท่าตัว
ชาร์ป ประกาศปลดพนักงานออกอีก 10 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด 49,000 ตำแหน่ง โดยในจำนวนที่ถูกจ้างออกนี้จะเป็นพนักงานในญี่ปุ่น 3,500 ตำแหน่ง
“บริษัทของเรากำลังเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากมาก... เราเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่จะช่วยให้เห็นแนวทางชัดเจนในการฟื้นฟูสถานะของบริษัท” โคโซ ทากาฮาชิ ประธานกรรมการบริษัท ชาร์ป แถลงต่อสื่อมวลชน
ชาร์ป คาดว่าบริษัทจะมีผลกำไรจากการดำเนินงาน (operating profit) ถึง 80,000 ล้านเยนในปีงบประมาณนี้ แต่ไม่ระบุคาดการณ์กำไรสุทธิ (net profit) และยังเตรียมขายอาคารที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในเมืองโอซากาเพื่อระดมเงินสด ลดเงินเดือนพนักงาน และจัดทำแผนลดต้นทุนครั้งใหญ่เพื่อฟื้นฟูงบดุล
ชาร์ป ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจหน้าจอ สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทั้งยังเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ให้กับ “แอปเปิล” ยังมีแผนออกหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 200,000 ล้านเยนให้แก่ธนาคารมิซูโฮ และธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ เพื่อแก้ไขตัวเลขงบดุลให้กลับมาเป็นบวก
ยอดขายรวมของชาร์ปในปีงบประมาณที่แล้วมีมูลค่า 2.78 ล้านล้านเยน ลดลงจากปีก่อนหน้า 4.8 เปอร์เซ็นต์
ชาร์ป สูญเสียมูลค่าตลาดไปกว่า 1 ใน 4 เมื่อวันจันทร์(11 พ.ค.) หลังมีกระแสข่าวการปรับลดต้นทุนและขายหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งทำให้นักลงทุนเกรงว่ามูลค่าหุ้นที่พวกเขาถืออยู่อาจลดลง (dilute)
3 ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติปลาดิบอย่าง ชาร์ป โซนี และ พานาโซนิค ต่างต้องเผชิญวิกฤตขาดทุนมหาศาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักเกิดจากภาวะซบเซาของธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งถูกบริษัทคู่แข่งจากเกาหลีใต้และไต้หวันที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด
ยอดขาดทุนสุทธิ 222,000 ล้านเยนนั้นมากกว่าที่ ชาร์ป ได้คาดการณ์ไว้เพียง 30,000 ล้านเยนอยู่หลายเท่าตัว
ชาร์ป ประกาศปลดพนักงานออกอีก 10 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด 49,000 ตำแหน่ง โดยในจำนวนที่ถูกจ้างออกนี้จะเป็นพนักงานในญี่ปุ่น 3,500 ตำแหน่ง
“บริษัทของเรากำลังเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากมาก... เราเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่จะช่วยให้เห็นแนวทางชัดเจนในการฟื้นฟูสถานะของบริษัท” โคโซ ทากาฮาชิ ประธานกรรมการบริษัท ชาร์ป แถลงต่อสื่อมวลชน
ชาร์ป คาดว่าบริษัทจะมีผลกำไรจากการดำเนินงาน (operating profit) ถึง 80,000 ล้านเยนในปีงบประมาณนี้ แต่ไม่ระบุคาดการณ์กำไรสุทธิ (net profit) และยังเตรียมขายอาคารที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในเมืองโอซากาเพื่อระดมเงินสด ลดเงินเดือนพนักงาน และจัดทำแผนลดต้นทุนครั้งใหญ่เพื่อฟื้นฟูงบดุล
ชาร์ป ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจหน้าจอ สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทั้งยังเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ให้กับ “แอปเปิล” ยังมีแผนออกหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 200,000 ล้านเยนให้แก่ธนาคารมิซูโฮ และธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ เพื่อแก้ไขตัวเลขงบดุลให้กลับมาเป็นบวก
ยอดขายรวมของชาร์ปในปีงบประมาณที่แล้วมีมูลค่า 2.78 ล้านล้านเยน ลดลงจากปีก่อนหน้า 4.8 เปอร์เซ็นต์
ชาร์ป สูญเสียมูลค่าตลาดไปกว่า 1 ใน 4 เมื่อวันจันทร์(11 พ.ค.) หลังมีกระแสข่าวการปรับลดต้นทุนและขายหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งทำให้นักลงทุนเกรงว่ามูลค่าหุ้นที่พวกเขาถืออยู่อาจลดลง (dilute)
3 ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติปลาดิบอย่าง ชาร์ป โซนี และ พานาโซนิค ต่างต้องเผชิญวิกฤตขาดทุนมหาศาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักเกิดจากภาวะซบเซาของธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งถูกบริษัทคู่แข่งจากเกาหลีใต้และไต้หวันที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด