พันตรีซอ เท ผู้อำนวยการประจำสำนักงานประธานาธิบดีเมียนมาร์ระบุว่า บรรดาผู้นำเมียนมาร์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า จะเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างผิดปกติในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้หรือไม่ โดยจะพิจารณาจากประเด็นที่จะหารือในการประชุมเป็นหลัก ซึ่งเมียนมาร์จะไม่ยอมรับข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาอย่างเด็ดขาด
ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวว่าเมียนมาร์มีแนวโน้มจะปฏิเสธเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยพันตรีซอ เท ระบุว่า ทางเมียนมาร์ยังไม่ได้รับหนังสือเชิญประชุมอย่างเป็นทางการ แต่หากหนังสือเชิญระบุว่า จะมีการหารือเรื่องโรฮิงญา เมียนมาร์ก็จะไม่เข้าร่วมด้วย ทั้งยังว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆในภูมิภาคพยายามเบี่ยงเบนความสนใจให้ออกห่างจากปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานทาสของตน ด้วยการพยายามกล่าวโทษเมียนมาร์
ด้านนายเจฟ รัธเก โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่า สหรัฐฯได้พยายามขอร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคไม่ผลักดันเรือของผู้อพยพออกนอกน่านน้ำ และดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการช่วยชีวิตผู้อพยพเหล่านี้ ซึ่งมีรายงานด้วยว่า นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้โทรศัพท์ถึง
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์พักพิงผู้อพยพชั่วคราว รวมทั้งจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียที่ไทยด้วย โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมให้ข้อมูลและคำแนะนำ ตลอดจนการสนับสนุนในด้านต่างๆ
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์พักพิงผู้อพยพชั่วคราว รวมทั้งจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียที่ไทยด้วย โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมให้ข้อมูลและคำแนะนำ ตลอดจนการสนับสนุนในด้านต่างๆ
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ชี้แจงว่า ไทยมีความกังวลว่าจะมีผู้ที่ไม่ได้ประสบภัยอย่างแท้จริง ใช้โอกาสที่รัฐบาลมีนโยบายจัดหาพื้นที่พักพิงชั่วคราวให้แก่ผู้อพยพทางทะเล เป็นช่องทางในการเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย นโยบายดังกล่าวจึงเป็นนโยบายที่เตรียมไว้ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรอดูสถานการณ์และจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบกฎหมายไทยเท่านั้น
ภาพประกอบ: เส้นทางอพยพทางเรือของชาวโรฮิงญาและบังกลาเทศ ซึ่งเริ่มจากรัฐยะไข่ในเมียนมาร์และเมืองค็อกซ์บาซาร์ในบังกลาเทศ ผู้อพยพจะขึ้นเรือใหญ่ซึ่งมาขึ้นฝั่งที่ระนอง (เส้นทางสีเขียวเข้ม) เพื่อเดินเท้าข้ามพรมแดนเข้าไปในมาเลเซีย (เส้นทางสีแดง) หรือถูกขบวนการค้ามนุษย์กักตัวในค่ายกลางป่าเพื่อรอค่าไถ่จากญาติ อย่างไรก็ตาม การปราบปรามล่าสุดของทางการไทย ทำให้เส้นทางอพยพต้องเบี่ยงไปทางน่านน้ำมาเลเซีย และจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย (เส้นประสีเขียวอ่อน)
เมียนมาร์กร้าวจะไม่ยอมรับผิดเรื่องปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญา พันตรีซอ เท ผู้อำนวยการประจำสำนักงานประธานาธิบดีเมียนมาร์ระบุ...
Posted by บีบีซีไทย - BBC Thai on 16 พฤษภาคม 2015