ข้อมูลทั่วไป
กระชาย
ชื่อวิทย์ Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr.
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ 90 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30 – 35 ซม.
ดอก มีสีม่วงแดง ดอกออกเป็นช่อ กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว
เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปาก
แตรเกลี้ยงไม่มีขน
การขยายพันธุ์ จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว
และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก
ส่วนที่ใช้ รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ
ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด
สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก
รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า “โสมไทย”
ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด
สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก
รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า “โสมไทย”
ข้อมูลงานวิจัยในเรื่องกระชาย
จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง “กระชายดำ” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่
จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง “กระชายดำ” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่
ค้นจากหนังสือชื่อ กระชายดำ ของสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547 เขาเขียนไว้ว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผมดำ ตาแจ่มใส ผิวเต่งตึง ทำให้กระชุ่มกระชาย บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แถมยังใช้ในด้านอยู่ยงคงกระพันได้ด้วย
ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก
ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว
แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้
แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า “กระชาย(เฉย ๆ)” เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน “กระชายดำ” ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ
ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก
ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว
แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้
แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า “กระชาย(เฉย ๆ)” เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน “กระชายดำ” ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง :
กระชาย หรือ “โสมไทย” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด
กระชาย หรือ “โสมไทย” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด