ตอบทุกการค้นหา
ข้อมูลที่มีประโยชน์
เติมสุข เติมรอยยิ้ม

 


Home » » หมดเงินปีละ8แสนล้านกับคุณภาพการศึกษาห่วย สสค.เปิดข้อมูลรายจ่ายด้านการศึกษา พบปี 56 ไทยใช้งบฯ

หมดเงินปีละ8แสนล้านกับคุณภาพการศึกษาห่วย สสค.เปิดข้อมูลรายจ่ายด้านการศึกษา พบปี 56 ไทยใช้งบฯ

สสค.เปิดข้อมูลรายจ่ายด้านการศึกษา พบปี 56 ไทยใช้งบฯรวมจากทุกภาคส่วนสูงกว่า 8 แสนล้านบาทในการจัดการศึกษา แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับสวนทางกับคุณภาพ เผยการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้งบฯ สูงสุด 5.1 แสนล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งที่จำนวนเด็กลดลง “ยงยุทธ” จี้หาจุดรั่ว ข้องใจรัฐลงทุนด้านการศึกษาสูงถึง 20%ของงบฯแต่ละปี แต่กลับผิดหวังคุณภาพ“



หมดเงินปีละ8แสนล้านกับคุณภาพการศึกษาห่วย | เดลินิวส์
„วันนี้ (11พ.ค) ที่โรงแรมพูลแมนบางกอก คิงพาวเวอร์ กรุงเทพฯ ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่อง “การจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติหรือเอ็นอีเอ ซึ่ง รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ หัวหน้าโครงการบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติของไทย กล่าวว่า ประเทศไทยโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ได้ร่วมกับสถาบันสถิติแห่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (ยูไอเอส)ในโครงการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ โดยมีอีก7ประเทศเข้าร่วมโครงการด้วยคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐยูกันดา สาธารณรัฐเซเนกัลสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ สาธารณรัฐกานา และสาธารณรัฐซิมบับเวทั้งนี้เอ็นอีเอเป็นกรอบสำหรับการวัดรายจ่ายด้านการศึกษาจากทุกแหล่งในประเทศทั้งส่วนที่เป็นงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาล ส่วนท้องถิ่น รายจ่ายจากภาคธุรกิจ เอกชนครัวเรือน และองค์กรไม่แสวงหากำไร รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวต่อไปว่า ผลจากการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่ปี2551-2556ในเบื้องต้นพบว่า รายจ่ายรวมด้านการศึกษาของไทยอยู่ในระดับที่สูงมากโดยในปี 2556 รวมรายจ่ายจากทุกแห่งคิดเป็นมูลค่าถึงกว่า8แสนล้านบาทซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่างบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาที่เคยปรากฏตามสื่อต่างๆเกือบเท่าตัว ทั้งนี้รายจ่ายด้านการศึกษาของไทยเพิ่มขึ้นสูงมาตลอด จากตัวเลข5.6แสนล้านบาทในปี2551เพิ่มมาเป็นกว่า8แสนล้านบาทในปี2556ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปการศึกษาของไทยเมื่อปี2542ซึ่งเป็นผลให้มีการลงทุนด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยแล้วประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาในระดับกว่า6%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีมาโดยตลอด โดย 5% เป็นส่วนที่ใช้จ่ายโดยรัฐบาลกลาง และท้องถิ่นประมาณ อย่างไรก็ตามในตัวเลขเม็ดเงินกว่า8แสนล้านบาทนั้นเป็นรายจ่ายด้านการศึกษาของภาครัฐถึง6.4แสนล้านบาทหรือประมาณ80.25%และถ้าแยกเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้งบฯ สูงถึง5.1แสนล้านบาท คิดเป็น71%ของรายจ่ายรวมในปี2556โดยมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยต่อปี7.4%ขณะที่จำนวนนักเรียนลดลงจาก13.1ล้านคนในปี2551เหลือ12.4ล้านคนในปี2556เฉลี่ยลดลงปีละเกือบ2แสนคน “ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาในระดับสูงแต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เช่นคุณภาพโดยเฉลี่ยที่วัดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือผลการประเมินทั้งในและระหว่างประเทศ คุณภาพการจัดการศึกษาที่ยังแตกต่างกันมากระหว่างเมืองและชนบทความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มาจากครอบครัวยากจนการผลิตบัณฑิตที่ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เป็นต้นปัญหาเหล่านี้สะท้อนว่านโยบายด้านการเงินเพื่อการศึกษาที่ดำเนินมาตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาปี2542ไม่สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายจึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบทรัพยากร และการเงินเพื่อการศึกษา” รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวและว่า เอ็นอีเอจะทำให้เราเห็นภาพรวมของรายจ่ายด้านการศึกษาทั้งหมดซึ่งที่ผ่านมาเมื่อมีปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำก็มักจะพูดว่าต้องการเงินเพิ่มเพื่อไปแก้ไขปัญหาคุณภาพแต่เอ็นอีเอแสดงให้เห็นว่าไม่ได้สำคัญเฉพาะตัวเงิน แต่สำคัญที่วิธีการใช้เงินด้วยบางครั้งเงินก็ถูกใช้ไปอย่างสูญเปล่า บางครั้งเงินก็ไปไม่ถึงโรงเรียนนอกจากนี้ยังพบด้วยว่าการใช้จ่ายเงินของโรงเรียนเอกชนมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงเรียนของรัฐ ด้าน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเอ็นอีเอทำให้เราได้เห็นว่าไทยลงทุนด้านการศึกษาถึงปีละกว่า8แสนล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากสำหรับประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยและคิดเป็นสัดส่วนถึง20%ของงบประมาณแผ่นดินแต่กลับยังมีปัญหาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเราต้องมาตรวจสอบหาว่าจุดรั่วหรือจุดอ่อนอยู่ตรงไหน เพื่อวิเคราะห์ออกมาว่าเราจะใช้งบฯอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะขณะนี้เรายังผิดหวังอยู่มากกับคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย " งบฯ ที่ลงทุนด้านการศึกษานั้นกว่า80%เป็นเงินเดือนครู และบุคลากร โดยมีงบฯเพียงแค่5%เท่านั้นที่ใช้สำหรับลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนดังนั้นต้องมาทบทวนดูว่าเรามีจำนวนครูที่เหมาะสมหรือไม่และเงินถูกใช้ไปที่ไหนอย่างไร ทำไมถึงเหลือแค่5%สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน"รองนายกรัฐมนตรี กล่าว“



ที่มา : dailynews.co.th
SHARE