ข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงไทยระบุว่าได้ตรวจสอบปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาบางส่วนแล้ว พบว่ามีข้อเท็จจริงหลายประการที่สังคมไทยยังเข้าใจคลาดเคลื่อน
1. ชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าเมืองไม่ใช่เชื้อชาติโรฮิงญาทั้งหมดแต่มีชาวบังกลาเทศครึ่งต่อครึ่ง
2. ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าเมืองไม่ได้มาจากรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ทั้งหมด แต่ที่มาจากรัฐยะไข่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ตรวจสอบแล้วมาจากคอกซ์บาซา ชายแดนบังกลาเทศกับเมียนมาร์ (รัฐยะไข่) แม้แต่ชาวโรฮิงญาจากยะไข่ ก็ไปเริ่มต้นลงเรือที่คอกซ์บาซาเพราะมีขบวนการนำพารับจ้างพาลงเรือออกมา
3. ชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้าไทยไม่ใช่เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ แต่สมัครใจเดินทางมาเพื่อต้องการเข้าไปทำงานที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย หรือประเทศที่สามเพื่อหางานทำ
4. เมื่อชาวโรฮิงญาหรือบังคลาเทศเดินทางมาด้วยความสมัครใจด้วยการลงขันออกเงินค่าเดินทางกันมาเอง จึงไม่ใช่ค้ามนุษย์ แต่เป็นการลักลอบเข้าเมือง เครือข่ายที่ช่วยเหลือก็เป็นพวกขบวนการนำพาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายไม่ใช่ขบวนการค้ามนุษย์
5. การจัดตั้งค่ายผู้อพยพในไทยจึงไม่จำเป็นและไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหา
6. มีค่ายใหญ่มากที่สามารถรองรับชาวโรฮิงญาได้อยู่แล้ว โดยมี 2 ค่ายอยู่ที่คอกซ์บาซา จุคนได้ร่วม 300,000 คน แต่ตอนนี้ในค่ายมีชาวโรฮิงญาอยู่แค่ราวๆ 20,000 คนเท่านั้น ฉะนั้นไทยสามารถส่งคนเหล่านี้กลับไปพำนักในค่ายดังกล่าวได้
7. สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ปล่อยปละละเลยให้ชาวโรฮิงญาที่อยู่ในค่ายที่คอกซ์บาซาหลบหนีออกมา จึงต้องมีส่วนรับผิดชอบกับปัญหาด้วย เพราะค่ายดังกล่าวอยู่ในความดูแลของยูเอ็นเอชซีอาร์
8. หลักการจัดการกับปัญหานี้ที่ถูกต้อง คือการส่งกลับไปที่ต้นทางซึ่งก็คือค่ายที่คอกซ์บาซา โดยประเด็นนี้จะถูกหยิบยกขึ้นหารือในที่ประชุมวันที่ 29 พ.ค. 58 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับนานาชาติ
ขอบคุณที่มาข่าวจาก PPTV
ชมคลิปได้ที่ pptvthailand.com/news/11787